วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์

หน่วยความจำบนอุปกรณ์ประมวลผลภาพ


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
4.หน่วยความจำ (Memory Unit)


           1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันอุปกรณ์มากมายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
- Keyboard (คีย์บอร์ด)
Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
1.Keyboard

- Mouse (เมาส์)
Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)
2.Mouse

- Scanner (สแกนเนอร์)
สแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
3.Scanner

- Webcam (เว็บแคม)
เว็บแคมหรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
4.Webcam

- Microphone (ไมโครโฟน)
ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
5.Microphone

- Touch screen (ทัชสกรีน)
ทัชสกรีน คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล มักนำไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นำนิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กดลงบนตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
6.Touch-Screen

           2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะขาดไม่ได้เลยคือหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
7.CPU

           3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
- จอภาพ (Monitor)
8.Monitor

- อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
9.Projector

- อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
10.Speaker

3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
- เครื่องพิมพ์ (Printer)
11.Printer

- เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
12.Plotter

4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
4.1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
13.Rom-Bios

4.1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
14.Ram

4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
4.2.1) แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
15.Harddisk

4.2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
16.CD-DVD

4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
17.DAT-QIC

4.2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา
18.Flash-Drive






หน่วยแสดงผล

เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลได้ให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพหรือกราฟ แสดงออกให้เห็นออกมาทางอุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์แบบถาวร หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ทีสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ต่อ ๆ ไปในอนาคต เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ในระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ เช่น จอภาพ เป็นต้น

เครื่องพิมพ์ (Printer)

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฎอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด
เครื่องพิมพ์ Printer พริ้นเตอร์
เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ สามารถพิมพ์งานกระดาษหน้ากว้างได้ ทั้งงานสีและขาวดำ ด้วยระบบพ่นหมึก
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ Laser Printer

                                                           
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบเลเซอร์และผงหมึก
เครื่องพิมพ์อิงค์เจต Injet Printer

                                                     
ระบบพ่นหมึก ใช้งานในระดับสำนักงานหรือในบ้านสามารถพิมพ์ได้ทั้งงานสีและขาวดำ


จอภาพ (Monitor)

                                                        
จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์แบบชั่วคราว ผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว ปกติทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและภาพกราฟิกที่สร้างจากการ์ดแสดงผล จอภาพจะมีขนาด คุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรเลื่อกซื้อจอภาพที่เหมาะสมกับงานและงบประมาณที่มีอยู่ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีชนิดความละเอียดสูง และเปป็นจอภาพแบบNon Inrerlaced ซึ่งจอภาพชนิดนี้จะช่วยลดอาการกระพิบของจอภาพได้ ช่วยให้ผู้ใช้ลดความเครียดทางสายตาได้

ลำโพง (Speaker)

                                                   

หน่วยแสดงผลที่ช่วยเพิ่มสีสันในการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นเสียงต่าง ๆ ตามโปรแกรม

                     


                                                ประเภทของเครื่องพิมพ์


               เครื่องพิมพ์ (Computer printer) คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท


เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้ พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
  1. เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
  2. เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม

ครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์




เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก

พล็อตเตอร์ (Plotter)
พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ








ยี่ห้อของลำโพง





Altec Lansing                                            
Bose Corporation (Bose)                                  
      Creative Labs (Creative)                           ราคา290 บาท
Cyber Acoustics                                 ราคา 500
Dell                                                   ราคา 560
General Electric (GE)                        ราคา400
Harman Kardon                                          
JBL                                                          
Klipsch                                                      

วิวัฒนาการของลำโพง
              
วิวัฒนาการของลำโพงมักจะเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ เสมือนไม่มีการเคลื่อนไหวอะไรมากนัก เหตุผลหนึ่งคงเป็นข้อจำกัดของลำโพง ซึ่งมีองค์ประกอบไม่มากมายอะไร ยิ่งเปรียบเทียบกับอุปกรณ์เครื่องเสียงอื่นๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าลำโพง ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนมากนัก
แต่อีกแง่หนึ่ง, หลายปีที่ผ่านมา มีลำโพงหน้าใหม่โคจรเข้ามาในแวดวงนักเล่นฯ อยู่บ่อยๆ บ้างมาแล้วก็แค่มาคือมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ปรากฏเนื้องานที่สืบสานกันต่อ บ้างก็มาแล้วตั้งหลักปักฐานขนานนามชื่อเสียงของตัวเองเป็นที่จดจำของนักเล่นฯ ไปอีกนาน ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นในส่วนลึกว่า แท้ที่จริง ลำโพงมีวิวัฒน์ในตัวมันเอง เพียงแต่พัฒนาการนั้นๆ ได้สำแดงออกมาดีเด่นแค่ไหน เงือนไขต่างๆ ที่จะเอื้อให้มันถ่ายทอดพัฒนาการเหล่านั้น สมบูรณ์แค่ไหน
อย่างไรก็ตาม, ไม่มีใครปฏิเสธหน้าที่ที่สำคัญของลำโพงได้เลย แล้วดูเหมือนลำโพงจะเป็นตัวบ่งบอกสรรพสิ่งในชุดเครื่องเสียงเป็นท้ายที่สุด เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตลำโพงจะก้าวหน้าไปอย่างไรก็เถอะ ที่แน่แท้ นักเล่นเครื่องเสียงย่อมต้องอาศัยความพิถีพิถันในการเลือกหาอยู่ดี อย่างน้อยก็ให้ตรงกับรสนิยมและเหมาะควรแก่ราคาค่าตัวที่จ่ายออกไป
เมื่อเกริ่นนำเช่นนั้นแล้ว แน่นอนครับ, ลำโพงหน้าใหม่ที่เพิ่งจะคุ้นชื่อคุ้นเสียงกันเมื่อไม่กี่ปีในบ้านเรานี่เอง เป็นลำโพงจากฝรั่งเศล ( ถิ่นเดียวกับเครื่องเล่นซีดีชื่อดัง Micromega ) น่าจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในแง่ของความหมายสองสามย่อหน้าข้างต้น โดยเฉพาะแนวทางที่พัฒนาตัวเองออกไปอีกไกล เป็นการยกคุณภาพทั้งหมดจากเดิมๆ ชนิดที่พูดได้ว่า " เห็นหน้าเห็นหลัง " กันเลยทีเดียว นั่นคือลำโพง Trangle
ผมได้แนะนำลำโพงสองทางวางหิ้งของยี่ห้อนี้ไปแล้ว มาคราวนี้เป็นรุ่นใหม่ทั้งหมด (ลงท้ายด้วยรหัสปีคอศอ) Triangle Antal 202 คือลำโพงตั้งพื้นที่จะได้ลำดับความถัดไป
เช่นที่เกริ่นเอาไว้ หลายๆ ครั้งเรามักจะมองลำโพงแบบเรียบง่ายหรือไม่ก็ตรงข้าม ดูจะเป็นอะไรสักอย่างที่คิดเอาว่า มันจะง่ายต่อการผลิตหรือประกอบลำโพงขึ้นมาสักคู่ แต่หลายคนที่เคยมีประสบการณ์เชิงนี้ ย่อมต้องทราบแก่ใจดีกว่า การออกแบบหรือผลิตลำโพงขึ้นมาสักคู่ให้คุณภาพที่ดีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เช่นที่คิด ทั้งนี้องค์ประกอบหรือรูปลักษณ์ แทบไม่มีส่วนในการบ่งบอกคุณภาพที่แฝงเร้นอยู่ภายในได้เลย
แรกที่ผมเห็นลำโพง Triangle, นี่เป็นลำโพงที่ออกแบบตู้ธรรมสามัญเอามากๆ ทำตู้ง่ายๆ เรียบๆ ไม่มีส่วนใดที่แสดงให้ประจักษ์ถึงความพยายามให้มากเท่าที่ทำได้ (ขออภัย)ลำโพงที่ทำขายกันในตลาดบ้านหม้อ ดูจะมีภาษีดีกว่าด้วยซ้ำไป นั่นถ้ามองกันแต่เพียงภายนอกด้วยสายตา แต่ก็แน่ล่ะครับ นั่นเป็นเพียงความคิดซึ่งไม่มีอะไรจะไปกำหนดความคิดได้ ใครก็คิดได้แล้วก็คิดกันไป แต่ที่สุดแล้ว ลำโพงต้องพิสูจน์ตัวมันเองด้วยการฟังเท่านั้น
Triangle Antal 202 เป็นลำโพงในตระกูลใหม่ที่พัฒนามาจากตระกูลเดิม ไล่เรียงตั้งแต่รุ่นเล็กวางหิ้งคือ Titus ไต่ระดับขึ้นไปถึงรุ่นสูงสุดในตระกูลนี้คือ Celius ทั้งหมดนี้ลงท้ายด้วยรหัสปีคอศอคือ 202 เป็นนัยแห่งการปรับเปลี่ยนตระกูลเดิมนั่นเอง และรุ่นนี้ก็รองลำดับลงมาจาก Celius เพียงรุ่นเดียว
แม้ตัวตู้ถูกออกแบบเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ตาม แต่สัดส่วนของตู้ก็จัดว่าเป็นลำโพงตั้งพื้นที่ค่อนข้างสูง ด้วยจำนวนตัวขับที่จัดเรียงสมมาตรในแนวตั้งบังคับเป็นคอลัมน์ขึ้นไป ความสูงของตู้จากพื้นถึงขอบบน 42.5 นิ้ว มีหน้ากว้าง 8.7 นิ้วและด้านลึก 11.7 นิ้ว ทั้งนี้ลำโพง Triangle Antal 202 ออกแบบเป็นลำโพงตั้งพื้นสามทางสี่ตัวขับ โดยเลือกใช้วูฟเฟอร์สำหรับเสียงทุ้มสองยูนิตขนาด 6 นิ้ว และเสริมด้วยวูฟเฟอร์มิดเรนจ์สำหรับตอบสนองย่านเสียงกลางโดยตรงอีกหนึ่งยูนิต ขนาดหน้าตัด 5 นิ้ว ปิดท้ายด้วยทวีตเตอร์โดมโลหะขนาด 1 นิ้ว
ท่อเปิดวางไว้ด้านหน้าของตู้ช่วงล่างเกือบติดพื้น ซึ่งใกล้กันนั้นมีแผ่นโลหะระบุชื่อลำโพงแผ่นใหญ่ติดเอาไว้เป็นจุดเด่น ในขณะที่ด้านหลังตรงข้ามกับท่อเปิด ให้ขั้วต่อชุบทองอย่างดีสองคู่ สำหรับการเลือกต่อสายลำโพงแบบไบไวร์ หรือเล่นเป็นซิงเกิ้ลไวร์ด้วยตัวจั้มที่ติดมาให้แล้ว
ทีนี้ถ้าจะขมวดปมที่เริ่มต้นไว้ นั่นคือความเรียบง่ายของตู้ ก็เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒน์ของลำโพงยี่ห้อที่ตัวขับหรือไดร์เวอร์ที่เลือกใช้ทั้งหมดนั่นเอง ทางบริษัทผู้ผลิตเน้นเอาไว้ชัดเจนถึงพัฒนาการที่พยายามเอาดีกับวัสดุตัวขับ แน่นอนว่าต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มาจนมั่นใจถึงคุณภาพประสิทธิภาพ แล้วมาคัดท้ายด้วยการปรับจูนกันที่พาสซีฟครอสส์โอเวอร์หรือจุดแบ่งความถี่ ซึ่งในแผ่นโปรยของบริษัทก็ระบุไว้ว่า ทุกรุ่นจะเลือกใช้ตัวขับชนิดเดียวกันทั้งหมด
เช่นตัวไดรเวอร์มิดเรนจ์ กรวยหรือไดอะแฟรมผลิตจากสารไฟเบอร์ผสม เลือกใช้ขอบยางหรือเซอราวด์เป็นสารโพลีเมอร์ สำคัญที่กำหนดย่านความถี่เอาไว้ที่ 500-5,000 เฮิร์ตซ เหตุที่สามารถอัพเกรดหรือพัฒนาตัวขับให้รุดหน้าไปได้อย่างใจนึก ก็เพราะบริษัทฯ ตัวขับขึ้นเองทั้งหมด ไม่ได้สั่งสเปคฯจากโรงงานมือปืนรับจ้างทั่วไป ซึ่งเริ่มตั้งแต่วอยซ์คอลล์จนถึงการขึ้นรูปลำโพงทั้งหมดเป็นที่สุด
เช่นนี้แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะปรับจูนคุณภาพลำโพงในภาพรวมออกได้ตามจินตนาการ เพราะความสำคัญส่วนหนึ่ง อยู่ที่การตอบสนองของตัวขับ เมื่อกำหนดสัดส่วนการตอบสนองความถี่หลักๆ ไว้ที่ตัวขับ การปรับแต่งจุดตัดก็ลดกระบวนการลงได้มาก แน่นอนว่ากรรมวิธีนี้ จะถึงพร้อมซึ่งคุณภาพประสิทธิภาพได้อย่างเพียงพอ และง่ายต่อการควบคุมคุณภาพทั้งหมดในการออกแบบขั้นตอนท้ายสุด
Triangle Antal 202 ตอบสนองความถี่ตลอดย่านออดิโอ 50-20,000 เฮิร์ตซ (+/- 3 ดีบี เฮิร์ตซ-กิโลเฮิร์ตซ) รับกำลังขับต่อเนื่องได้ถึง 120 วัตต์และ 240 วัตต์สำหรับกำลังสวิง ความต้านทานปกติที่ 8 โอห์ม มีความไว้ที่ 91 ดีบี แบ่งจุดตัดความถี่ไว้สองจุดคือโรลล์ออฟย่านต่ำที่ 800 เฮิร์ตซ และตัดย่านสูงไว้ที่ 5 กิโลเฮิร์ตซ

วิวัฒนาการของอุปกรณ์แสดงผล

อุปกรณ์แสดงผลถือได้ว่าเป็นหน่วยสุดท้ายของระบบ ที่ทำหน้าที่ใน การแสดงผลลัพธ์ จากการประมวลผล ให้กับผู้ใช้อุปกรณ์แสดงผล จึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับระบบทุกระบบเลยก็ว่าได้ ถ้าจะดูกันจริงๆ แล้วอุปกรณ์แสดงผลมีมาตั้งแต่ สมัยยุคหินเลยก็ว่าได้โดยที่มนุษย์หินจะใช้ผนังถ้ำในการแสดงภาพวาดหรือเขียนบันทึกต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ และต่อมาก็มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงมาเพื่อสะดวกต่อการพกพา จนเป็นอุปกรณ์ประเภทกระดานหรือกระดาษ เป็นต้น
Cathode Ray Tube (CRT) “จอซีอาร์ที” หรือจอแสดงผลแบบหลอดภาพ
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1897 โดย นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Karl Ferdinand Braun โดยพัฒนาเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscilloscope ที่ใช้เป็นเครื่องวัดค่าสัญญาณทางไฟฟ้า เริ่มผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1922 ในรูปแบบของ จอโทรทัศน์ จนถึงทุกวันนี้

การทำงานของจอ CRT

จะทำงานอยู่ภายในหลอดสุญญากาศ โดยภายในจะมี Heater Element (ไส้หลอด) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดความร้อนขึ้น ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากวงโคจรรอบนิวเคลียสของอะตอม ในโมเลกุลของก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในหลอดภาพ แล้วจึงถูกสนามไฟฟ้าจากแผ่นโลหะที่มีรูที่เจาะเอาไว้วางอยู่ด้านหน้า element นี้ ซึ่งรับแรงดันไฟฟ้าด้วยแรงดันที่สูง (High Volts) ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกตัวของ ion ของก๊าซเฉื่อย แล้วเกิดการเรืองแสงเป็นสีน้ำเงินขึ้นที่บริเวณผิวหน้าของจอภาพ อันเนื่องมาจากพลังงานของลำอิเล็กตรอนที่พุ่งไปตกกระทบผิวจอ โดยเราควบคุมขนาด และตำแหน่งการตกกระทบของอิเล็กตรอนได้ ด้วยการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือใช้สนามแม่เหล็กคล่อมที่ความกว้างของหลอดภาพ ต่อมาได้พัฒนาให้เพิ่มความสามารถด้านความคมชัด และความละเอียดของสี ด้วยการใช้ปืนอิเล็กตรอน (Electron Gun) พร้อมทั้ง เพิ่มจำนวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นที่บริเวณคอของหลอดภาพ เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนพุ่งผ่านคอไปแล้ว จะถูกควบคุมด้วยการกราดตรวจ (Scan) ลำแสงอิเล็กตรอนในการพุ่งไปตกกระทบผิวจอหลอดภาพ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยการใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าให้เบี่ยงเบนไปตามความต้องการ หลังจากอิเล็กตรอนพุ่งไปตกบนผิวจอภาพ ที่มีการฉาบเคลือบผิวด้วยสารฟอสฟอร์ (Phosphor – สารเคมีที่จะเรืองแสงเมื่อมีอิเล็กตรอนมาตกกระทบ) ทำให้เกิดเป็นจุดแสงที่สว่างและมืดบนจอได้

สำหรับจอสี ลำของอิเล็กตรอนที่ยิงออกมาก่อนจะถึงฟอสฟอร์จะต้องผ่านส่วนที่เรียกว่า หน้ากาก (Shadow Mask) ซึ่งแผ่นโลหะมีรูอยู่ตามจุดของฟอสฟอร์ เมื่อทำหน้าที่ช่วยให้ลำแสงอิเล็กตรอนมีความแม่นยำสูงขึ้นแล้ว ระยะระหว่างรูบนหน้ากาก (Shadow Mask) ก็คือ ระยะระหว่างแต่ละจุดที่จะปรากฏบนจอด้วย โดยเราจะเรียกว่า dot pitch จอภาพที่มีระยะ dot pitch ต่ำจะมีความคมชัดสูงกว่า แต่ละจุดบนจอภาพสี จะประกอบด้วยฟอสฟอร์ 3 จุด คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน อย่างละหนึ่งจุด
การยิงอิเล็กตรอนจะเริ่มจากมุมซ้ายบนและไล่ไปตามแนวนอน เมื่อสิ้นสุดจอก็จะกลับไปเริ่มต้นที่แถวถัดไป ซึ่งการย้ายแนวอิเล็กตรอน จากท้ายแถวหนึ่งไปยังจุดเริ่มต้นของแถวถัดไปนี้ เราเรียกว่า การกราดตรวจแบบแรสเตอร์ (Raster Scanning)

จอ LCD (Liquid Crystal Display)
ที่หลายๆคนเรียกว่า “จอแอลซีดี” หรือจอภาพผลึกเหลว ที่เรียกผลึกเหลวก็เพราะว่าสถานะของเจ้าผลึกเหลวนั้นอยู่ระว่าง ของแข็งกับของเหลว

การทำงาน LCDเรามาคูโครงสร้างของจอภาพแบบ LCD ทั่วๆ ไปกันก่อน ส่วนประกอบหลัก ๆ ของจอภาพจะมีประมาณ 7 ส่วนด้วยกัน ชั้นในสุดจะเป็นหลอดฟลูออเรสเซน เพื่อทำหน้าที่ให้แสงสว่างออกมา (ดังนั้นบางทีจึงเรียกกันว่าเป็นจอแบบ backlit คือให้แสงจากด้านหลัง ซึ่งต่างจากจอ LCD ที่เราพบในอุปกรณ์ขนาดเล็กทั่วไป ที่มักจะเป็นจอขาว-ดำที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแสง แต่ใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้าจอเข้าไปสะท้อนที่ฉากหลังออกมา ซึ่งไม่สว่างมากแต่ก็ประหยัดไฟกว่า เครื่องคิดเลขเล็ก ๆ นาฬิกา หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบางรุ่น เช่น palm ก็ยังใช้จอแบนี้) ถัดมาเป็นส่วนของ diffuser หรือกระจกฝ้าที่ทำให้แสงที่กระจายออกมามีความสว่างสม่ำเสมอ ส่วนที่สามจะเป็น polarizer ซึ่งก็คือฟิลเตอร์ชนิดหนึ่งที่ยอมให้คลื่นแสงในแนวใดแนวหนึ่งผ่านได้ แต่จะไม่ยอมให้คลื่นแสงในอีกแนวหนึ่งผ่านไปได้ ซึ่งส่วนมากนิยมจะวางให้คลื่นแสงในแนวนอนผ่านออกมาได้ ต่อมาก็จะเป็นชั้นของแก้วหรือ glass substrate ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับขั้ว electrode (ขั้วไฟฟ้า) ชั้นนอกถัดออกมาอีกก็จะเป็นชั้นของ liquid crystal หรือชั้นของผลึกเหลว โดยจะมีชั้นถัดมาเป็นแผ่นแก้วปิดเอาไว้เพื่อไม่ให้ผลึกเหลวไหลออกมาได้ ส่วนชั้นนอกสุดจะเป็น polarizer อีกชั้นหนึ่งซึ่งนิยมวางให้ทำมุม 90 องศากับ polarizer ตัวแรก ส่วนถ้าเป็นจอสีก็จะมีฟิลเตอร์สี (แดง เขียว และน้ำเงิน) คั่นอยู่ก่อนที่จะถึง polarizer ตัวนอกสุด

ส่วนการทำงานของจอภาพแบบนี้ จะเป็นดังนี้ เริ่มแรกแสงที่เปล่งออกมาจากหลอดฟลูออเรสเซนจะส่องผ่าน diffuser ออกมา แสงที่ผ่านออกมานี้จะมีคลื่นแสงกระจายอยู่ทุกทิศทุกทาง เมื่อนำแสงนี้มากระทบกับ polarize ตัว polarizer จะกรองให้เหลือแต่คลื่นแสงในแนวนอนผ่านออกมาได้ เมื่อแสงผ่าน polarizer ออกมาแล้วก็จะมาถึงชั้นของผลึกเหลว ซึ่งจะถูกกระตุ้น (charge) ด้วยกระแสไฟจากขั้วไฟฟ้าบน glass substrate ผลึกเหลวที่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าแล้วจะเกิดการบิดตัวของโมเลกุล ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยเข้าไป โดยจุดที่ถูก charge มากที่สุดจะบิดตัวได้ถึง 90 องศา เมื่อแสงผ่านชั้นของผลึกเหลวนี้แล้วก็จะบิดตัวไปตาม โมเลกุลของผลึกเหลวด้วย ต่อมาเมื่อแสงเดินทางมาถึง polarizer ตัวนอกสุดซึ่งจะยอมให้เฉพาะคลื่นแสงในแนวตั้งเท่านั้น ผ่านออกมาได้ คลื่นแสงที่ถูกบิดตัวคามผลึกเหลวถึง 90 องศาก็จะผ่านตัว polarizer ออกมาได้มากที่สุดกลายเป็นจุดสว่างให้เรามองเห็น ส่วนคลื่นแสงที่ถูกบิดตัวน้อยก็จะผ่านออกมาได้น้อย ทำให้เราเห็นเป็นจุดที่มีความสว่างน้อย ส่วนคลื่นแสงส่วนที่ไม่ถูกบิดตัวเลย ก็จะไม่สามารถผ่าน polarizer ออกมาได้ ทำให้กลายเป็นจุดมืดบนจอภาพ ส่วนถ้าเป็นจอแบบ LCD สี ก่อนที่แสงจะมาถึง polarizer ตัวที่สองก็จะมีฟิลเตอร์สีทำให้แสงที่ออกมานั้นมีสีตามฟิลเตอร์นั้นด้วย


Passive-Matrix LCD

ในจอภาพแบบ passive-matrix การกระตุ้น charge แต่ละจุดบนจอจะทำโดยการตรวจกวาด (scan) หรือส่งสัญญาณไปสร้างภาพหรือควบคุมการบิดตัวตรงจุดนั้น ทั้งทางแนวตั้งและแนวนอน เริ่มจากจุดที่หนึ่ง (คอลัมน์ที่ 1) ในแถวที่ 1, จุดที่สองในแถวที่ 1, จุดที่สาม... ไปเรื่อย ๆ แล้ววนกลับมาจุดแทรกในแถวที่สอง.... ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับจนกว่าจะควบคุมทุกจุดบนจอ

Super-Twisted Nematic (STN)
จอภาพ passive matrix รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีกลไกที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic หมายถึงโมเลกุลของผลึกเหลว (Nematic Modecule) จะมีการบิดตัวได้มากกว่าปกติ เช่น เบี่ยงเบนแสงได้ถึง 180 หรือ 270 องศา (จากปกติที่เป็น 90 องศา) ทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น และได้พัฒนาไปเป็น Dual-scan STN ในปัจจุบัน

Active-Matrix LCD
โครงสร้างของจอภาพแบบ Active ที่ต่างจากจอภาพแบบ Passive ก็คือในชั้นของ Glass substrate แทนที่จะเป็นขั้วไฟฟ้าธรรมดาก็จะเป็นทรานซิสเตอร์ที่สร้างจากแผ่นฟิล์มบาง ๆ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ TFT หรือ Thin Film Transistor) ทรานซิสเตอร์เหล่านี้ช่วยทำให้การ charge ผลึกเหลวเป็นไปอย่างรวดเร็วและที่ดียิ่งขึ้น

Plasma Display – Light Emitting Diode (LED)
การทำงานของ Plasma
เป็นจอภาพที่มีลักษณะแผ่นเรียบบาง พลาสมาเกิดขึ้นจากแก๊สที่แตกตัวกลายเป็นอิออน กับ อิเล็กตรอน (ประจุลบ) ในสภาวะปกติ อะตอมของแก๊สเป็นกลางทางไฟฟ้า มีจำนวนโปรตอน (ประจุบวก) เท่ากับจำนวน อิเล็กตรอน ทำให้ประจุไฟฟ้าสุทธิ ของอะตอมเป็นศูนย์ และถ้าผ่านกระแสไฟฟ้า หรืออิเล็กตรอนอิสระเข้าไปในแก๊ส มันจะวิ่งเข้าชนอะตอมของแก๊ส ทำให้อิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียส ของแก๊สหลุดออก อะตอมขาดความสมดุล มีประจุบวกมากกว่าประจุลบ อยู่ในสภาวะอิออน อิเล็กตรอนอิสระจาก กระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าแทนที่อิเล็กตรอนที่หลุดออกไป เข้าสู่วงโคจรด้านนอก และลดระดับเข้าสู่วงโคจรด้านใน ปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นรูปของโฟตอน (พลังงานแสง) จอพลาสมาประกอบขึ้นจากเซลขนาดเล็กนับล้านเซล ภายในเซลแต่ละเซลบรรจุแก๊สซีนอนหรือนีออน เซลทั้งหมดถูกแผ่นแก้วทั้งสองประกบอยู่ มีเส้นอิเล็กโตรด เดินอยู่บนแผ่นแก้ว ข้างล่างแผ่นแก้ว เป็นเลขที่อยู่ของขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าทั้งสองฝั่งของแผ่นแก้วจะมีลักษณะตัดกัน(Cross) ด้านบนเดินเป็นแนวนอน ส่วนด้านล่างเดินอยู่ในแนวตั้งฉาก เมื่อจุดตัดของอิเล็กโตรดทั้งสองมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุดบน และจุดล่าง กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านเซลนั้นได้ อะตอมของแก๊สในเซล จะปลดปล่อยแสงอัลตร้าไวโอเล็ต ซึ่งเป็นแสงที่ตามองไม่เห็น ดังนั้นภายในเซลจึงต้องฉาบฟอสฟอรัส 1 เซลต่อหนึ่งสี 1 จุดแสง มี 3 เซล ประกอบด้วย 3 สี เมื่อแสงอัลตร้าไวโอเลตกระทบเข้ากับอะตอมของฟอสฟอรัส มันจะกระตุ้นให้อะตอมของฟอสฟอร์ ปลดปล่อยแสงที่ตามองเห็นออกมา
การปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าของเซลแต่ละเซล สามารถเปลี่ยนความเข้มของสีแสงได้ ข้อเด่น ของจอแบบพลาสมาคือคุณสามารถสร้างจอให้มีขนาดใหญ่เท่าไรก็ได้ เพราะจุดแสงแต่ละจุดไม่ขึ้นต่อกัน ภาพที่ได้ออกมามีความสว่างและคมชัดมาก มองจากมุมใดก็ได้ ความสว่างไม่ลดลง และยังทำให้จอมีขนาดบางเหมือนกับนำรูปภาพไปแขวนไว้

Light Emitting Diode (LED)
การทำงานของ LED

เป็นอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำ เมื่อจ่ายไฟเข้าไปในรูปของการ Forward bias จะมีอิเล็กตรอน และ hole ไหลผ่าน pn junction จากอิเล็กโทรด เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งมาพบ hole อิเล็กตรอนจะคายพลังงานออกจนถึงระดับต่ำพอที่จะเข้าไปอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส (อยู่ในรูปของโฟตอน คือจะเปล่งแสงออกมา) สีของแสงที่ปรากฏขึ้นอยู่กับสารอนินทรีย์ที่ผสมในสารกึ่งตัวนำ และออกมาใกล้เคียง แสงอุลตร้าไวโอเลต แสงที่มองเห็นได้ และแสงอินฟาเรด

ปัจจุบันนี้ LED สามารถนำมาพัฒนาเป็นจอโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 30 – 60 ฟุต และมีคุณสมบัติที่สามารถเห็นได้ ขณะที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง มีหลักการทำงานพื้นฐานเหมือนกับทีวีแบบ CRT ที่เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าจากสายอากาศหรือจากเครื่องเล่นวีดีโอเป็นจุดแสงหน้าจอ

โทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่ใช้หลอด LED สีแดง เขียว และน้ำเงิน แทนจุดแสง 1 จุด (1 โมดูล) ดังนั้นบน จอโทรทัศน์ 1 โมดูล เกิดจากหลอด LED อย่างน้อย 3 หลอด (สีแดง เขียว และน้ำเงิน) อย่างไรก็ตาม 1 โมดูล อาจประกอบด้วย หลอดมากกว่า 3 ดวงก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ ขนาดของ 1 โมดูล เพื่อจะได้ภาพที่มีรายละเอียดชัดเจนจะต้องใช้หลอด LED เป็นจำนวนนับแสนดวงเรียงกันเป็นตาข่าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการภาพที่มีรายละเอียดของจุด 640 x 480 ต้องใช้จุดแสงจำนวน 307200 จุด นั่นก็หมายความว่าต้องใช้หลอด LED อย่างน้อย 307200 x 3 = 921600 ดวง



            ประวัติและวิวัฒนาการของเครื่องถ่ายเอกสาร (Copying Machine) 

       เครื่องถ่ายเอกสาร (copying Machine) วิวัฒนาการมาจากกล้องถ่ายภาพ 
ซึ่งผู้คิดค้นได้พยายามรบรวมขั้นตอนวิธีการถ่ายภาพมาดัดแปลงให้มาอยู่ในเครื่องเดียวกัน
ในระยะแรก ๆ เครื่องถ่ายเอกสารจะมีลักษณะเป็นเครื่องทำสำเนาเอกสารขนาดเล็ก 
เรียกว่า Photocopy หรือ Photostat ถ่ายสำเนาได้ครั้งล่ะ 1 แผ่น เป็นระบบ Dual Spectrum 
และเป็นชนิดเติมน้ำยา วิธีการใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก และใช้ถ่ายรูปทุกประการ 
โดยต้อนฉบับแต่ละแผ่นจะถ่ายสำเนาได้ครั้งละ 1 แผ่นเท่านั้น นอกจากนี้ 
จะต้องใช้กระดาษเครื่องผ่านแสงไฟเพื่อให้ภาพ Negative นำเข้าเครื่องผ่านน้ำยาอีกครั้งหนึ่ง
จึงลอกแผ่น Negative ออก ก็จะได้เอกสารที่ถ่ายสำเนาออกมา อย่างไรก็ตาม 
เครื่องถ่ายเอกสารแบบ Dual Spectrum นี้ประสิทธิภาพในการถ่ายสำเนาเอกสารไม่คมชัดนัก 
ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 นักกฎหมายชาวอเมริกันชื่อ Chester Carlson 
ได้คิดค้นและพัฒนาระบบเครื่องถ่ายเอกสารจนสำเร็จ สามารถถ่ายเอกสารได้ครั้งละหลาย ๆ แผ่น 
โดยนำระบบ Copyflo มาใช้งาน ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสาร
ชนิดเติมน้ำยานี้ไม่ได้รับความนิยม และไม่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว 
   
       ปัจจบันเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ในสำนักงานโดยทั่วไป เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบอัตโนมัติ 
(Electrostatic Copying Machine) เป็นชนิดใช้ผงหมึก (Toner) ชนิดเดียวเท่านั้น 
สำเนาภาพที่ได้จากเครื่องถ่ายเอกสารด้วยผงหมึกนี้ภาพจะคมชัดและแห้งสนิท 
       ต้นทุนการผลิตชิ้นงานค่อนข้างต่ำแต่ประสิทธิภาพในการใช้งานสูง  สามารถถ่ายเอกสารได้เป็นจำนวนมาก 
โดยใช้มือหรือจะใช้ถาดป้อนกระดาษก็ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  และยังสามารถแทรกงานด่วน
ในขณะถ่ายเอกสารอื่นอยู่ได้ มีทั้งระบบย่อ  ขยายและซูมภาพได้  นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ่ายเอกสาร
ที่กลับหน้าเองอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่ของเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้กับระบบกระดาษธรรมดา
แต่ใช้ผงหมึกแบบแมกนิไฟน์โฟรเซส ที่ให้ความละเอียดแก่สำเนาที่ถ่ายเอกสารมากกว่า คุณสมบัติต่างๆ
 ของเครื่องถ่ายเอกสารนั้น บริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนาระบบการทำงานของเครื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ในการทำงานมากที่สุด ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เป็นคุณสมบัติที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละ           























http://www.learners.in.th
  http://www.qghservice.com
 http://www.com5dow.com
http://www.blmiacec.ac.th
     http://www.audio-teams.com
http://www.servoline.com
http://www.qghservice.com